Stagflation คืออะไร เราจะเผชิญกับภาวะนี้อีกครั้งหรือไม่

2024-05-16 | Stagflation , ดอลลาร์ , ทอง , น้ำมัน , ภาวะเงินเฟ้อ , เศรษฐกิจ

ในการอภิปรายทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ คำว่า “stagflation” ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจุดประกายให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดที่ผ่านมา แม้ว่ารายงานและข้อมูล GDP จะแสดงถึงสัญญาณ Stagflation นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่าว่าภาวะ Stagflation เกี่ยวข้องกับอะไร รวมถึงข้อมูลในอดีต และผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปัจจุบัน 

Stagflation คืออะไร? 

Stagflation คือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะการเติบโตที่ซบเซา การว่างงานสูง และมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงด้วย 

คำว่า “Stagflation” เป็นคำผสมระหว่าง “การเติบโตของเศรษฐกิจที่ซบเซา (Stagnation)” และ “เงินเฟ้อ (Inflation)” ซึ่งเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างมาก 

การเติบโตของเศรษฐกิจที่ซบเซา (Stagnation): การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ซบเซา ธุรกิจมีอัตราการผลิตที่ลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง 

เงินเฟ้อ (Inflation): ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพแพงขึ้น 

ความท้าทายของ Stagflation 

การผสมผสานระหว่างการเติบโตที่ช้าและอัตราเงินเฟ้อที่สูงนี้ทำให้เกิดความท้าทายเฉพาะต่อผู้กำหนดนโยบาย โดยปกติแล้ว นโยบายในการแก้ไขปัญหาจุดหนึ่งอาจทำให้อีกปัญหาแย่ลงได้ ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับอัตราการเติบโตที่ช้าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออาจชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจได้ 

จุดที่น่าสังเกตคือภาวะเงินเฟ้อนั้นสามารถท้าทายโมเดลทางเศรษฐกิจแบบเดิมๆได้ เช่น เส้น Phillips ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานที่ลดลงกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตามทฤษฎีคลาสสิก เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูง การว่างงานควรที่จะต่ำ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับการว่างงาน ทำให้ธนาคารกลางจัดการกับปัญหาโดยการปรับอัตราดอกเบี้ย 

อย่างไรก็ตาม stagflation ได้ท้าทายตรรกะนี้ ซึ่งนำเสนอสถานการณ์ที่ทั้งอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดความขัดแย้งในนโยบาย สิ่งนี้บังคับให้นายธนาคารกลางและผู้กำหนดนโยบายต้องคิดค้นวิธีแก้ปัญหาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา 

ต้นกำเนิดของ Stagflation 

คำว่า “stagflation” ได้รับการบัญญัติขึ้นครั้งแรกโดยนักการเมืองชาวอังกฤษ เอียน นอร์แมน แมคคลาวด์ ในระหว่างการปราศรัยต่อหน้าสภาสามัญชนในปี 1965 ท่ามกลางความเครียดทางเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักร Macleod เรียกผลกระทบที่รวมกันของอัตราเงินเฟ้อและความซบเซาว่าเป็นสถานการณ์ “stagflation” ช่วงเวลาสำคัญนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะ Stagflation ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์ทุกๆคนจะต้องรู้จัก 

“ตอนนี้เรามีสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของทั้งสองโลก ไม่ใช่แค่ภาวะเงินเฟ้อด้านหนึ่งหรือความซบเซาในอีกด้านหนึ่ง แต่ทั้งสองอย่างรวมกัน เราจึงมีสถานการณ์ “stagflation” (รัฐสภาสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1965) 

เมื่อนักเศรษฐศาสตร์คิดว่าเป็นไปไม่ได้ Stagflation ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศที่พัฒนาแล้วนับตั้งแต่วิกฤตน้ำมันในทศวรรษ 1970 

ตัวอย่างในอดีต 

เมื่อลองมองย้อนกลับไปดูช่วงเวลา Stagflation ในอดีต เช่น Stagflation ในช่วงทศวรรษ 1970 ช่วงนั้นเป็นตัวอย่างที่สำคัญของสภาวะ Stagflation โดยมี “3 คลื่น” ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละคลื่นมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง การวิเคราะห์คลื่นในอดีตเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ดังที่แสดงในกราฟต่อไปนี้ 

กราฟได้แสดงให้เห็นถึง ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 เราสังเกตเห็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในแต่ละระลอกของคลื่น ควบคู่ไปกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่าสนใจคือกราฟแสดงให้เห็นถึงความแปรผันของระยะเวลาของคลื่นเหล่านี้ คลื่นลูกแรกมีระยะเวลาประมาณ 2.2 ปี ในขณะที่คลื่นลูกที่สองชะลอตัวลงเป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปี แต่ในทางตรงกันข้าม คลื่นลูกที่สามขยายออกไปเป็น 2.4 ปี 

เราใกล้จะพบกับภาวะ Stagflation ในปี 2024 แล้วหรือยัง? 

จากการวิเคราะห์คลื่นของเงินเฟ้อและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐอเมริกา เราพบว่าขณะนี้กำลังใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของคลื่นเงินเฟ้อระลอกแรกแล้ว นี่เป็นการส่งสัญญาณถึงการเคลื่อนไหวต่อไป โดยมีความกังวลเกี่ยวกับการมาของระลอกสองที่อาจเกิดขึ้นได้ 

ปัจจุบันบรรยากาศทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและการเติบโตที่ชะลอตัว แต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ นายเจอโรม พาวเวลล์ ก็ได้มองข้ามความกังวลเรื่องภาวะ Stagflation แม้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เท่าเดิมก็ตาม 

เขาเปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 4% กับภาวะ Stagflation แบบคลาสสิกในทศวรรษ 1970 “ผมไม่เห็นโอกาสของ Stagflation” เขาได้กล่าวไว้ 

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อความคิดนี้ ซึ่งเน้นไปที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่กำลังฟื้นตัวและข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ อ่อนตัวลง โดยเน้นถึงความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและทศวรรษ 1970 เพราะมีสาเหตุมาจากภาวะราคาน้ำมันตกต่ำ สหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง และมาตรการการควบคุมราคาที่ถูกยกเลิก 

การวิเคราะห์จาก Bank of America 

เพื่อสนับสนุนมุมมองนี้ นักวิเคราะห์ของ Bank of America ยืนยันว่าข้อมูลล่าสุดไม่ควรตีความว่าเป็นภาวะ Stagflation พวกเขาชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของ GDP ที่ต่ำกว่าที่คาดอาจเกิดจากปัจจัยทางด้านบัญชี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ PCE ที่ออกมาแข็งแกร่งสะท้อนถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ฟื้นตัว โดยพื้นฐานแล้ว พวกเขาเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่แยกจากกัน ไม่จำเป็นต้องบ่งบอกถึงภาวะ Stagflation  

ผลกระทบของ Stagflation ต่อประเภทสินทรัพย์ 

ในขณะที่การถกเถียงเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะ Stagflation ยังคงดำเนินต่อไป ก่อนอื่นเรามาเจาะลึกว่าช่วง Stagflation ในอดีต เช่น ทศวรรษ 1970 ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างไร โดยเฉพาะทองคำ น้ำมัน ดอลลาร์สหรัฐ และหุ้น 

ข้อมูลนี้จะทำหน้าที่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับแนวโน้มและกลยุทธ์ที่อาจจะสามารถใช้ได้ในอนาคต 

น้ำมัน: ตลาดที่ผันผวน 

ในช่วงภาวะ Stagflation ในทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างมาก โดยพุ่งสูงขึ้นกว่า 1,000% วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1973 เกิดจากการที่โอเปกสั่งห้ามการผลิตและส่งออกน้ำมันอย่างจำกัดจากประเทศกลุ่มโอเปก ทำให้เกิดภาวะ Supply shock อย่างมีนัยสำคัญ และเป็นผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การขึ้นของราคาอย่างรวดเร็วนี้ยังคงมีอยู่ โดยถทำจุดสูงสุดระหว่างปี 1980 ถึง 1981 ซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลก 

ทองคำ: สินทรัพย์หลบภัยท่ามกลางความไม่แน่นอน 

ทองคำกลายเป็นแหล่งหลบภัยในยุคเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนได้รับความปลอดภัยจากทั้งภาวะเงินเฟ้อและการลดค่าเงิน ตั้งแต่ปี 1971 ถึง 1980 ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นกว่า 2,000% ซึ่งสะท้อนถึงสถานะของทองคำที่เป็นแหล่งสะสมมูลค่าที่เชื่อถือได้ในช่วงที่เกิดความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ 

ดอลลาร์สหรัฐ: ความเสื่อมในมูลค่า 

ตรงกันข้ามกับทองคำ เงินดอลลาร์สหรัฐมีการอ่อนค่าลงอย่างมากในช่วงภาวะ Stagflation ในช่วงทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสูญเสียมูลค่าไปมากกว่า 30% สะท้อนถึงแรงซื้อที่ลดลงท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ลุกลามและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ 

หุ้น: ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน 

ผลประกอบการของตลาดหุ้นในช่วงปี 1970 อยู่ในช่วงภาวะ Stagflation โดยรวมแล้ว หุ้นมีการเติบโตที่ซบเซาเพราะไม่มีแนวโน้มทิศทางที่ชัดเจน การรวมกันของอัตราเงินเฟ้อที่สูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้เกิดภาวะซบเซาในตลาดหุ้น 

การลงทุนในสภาวะ Stagflation

การทำความเข้าใจว่าสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มีพฤติกรรมอย่างไรในช่วงที่เกิดภาวะ Stagflation ในอดีตสามารถให้คำแนะนำที่สำคัญต่อกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าประสิทธิภาพในอดีตไม่ได้รับประกันผลลัพธ์ในอนาคต ก่อนตัดสินใจลงทุน ควรหาข้อมูลอย่างละเอียด ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงิน 


การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง          

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย          

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง      

ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย          

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

สารจาก Doo PrimeIconBrandElement

article-thumbnail

2025-01-08 | สารจาก Doo Prime

โชว์ศักยภาพในการแข่งขันประจำเดือนของ Doo Prime 

เราขอนำเสนอการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นที่สุดแห่งปี “DP เทรดเดอร์ประจำเดือน” ซึ่งได้เพิ่มความท้าทายใหม่ๆให้แก่นักเทรดทุกท่าน เพื่อรับเงินรางวัลสูงสุด 6000 USD  ใครสามารถเข้าร่วมได้บ้าง  ทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันสามารถเข้าร่วมการแข่งขันการเทรดประจำเดือนของเราได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดกับ Doo Prime มาอย่างยาวนาน หรือเทรดเดอร์ที่พึ่งรู้จักเรา คุณได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับเราและโชว์ทักษะของคุณในการแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้  รับรางวัลเงินสด  ทุกๆเดือน เทรดเดอร์ที่มียอดฝากสูงสุด (เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ) จะเป็นผู้ชนะและได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 500 USD ฝ่ายบริการลูกค้าของ Doo Prime จะติดต่อผู้ชนะผ่านทางอีเมลที่คุณลงทะเบียนไว้เท่านั้น    คุณจะต้องตอบกลับอีเมลเพื่อรับของรางวัล หลังจากตอบกลับและยืนยันการรับรางวัลแล้ว รางวัลของคุณจะถูกโอนเครดิตเข้าบัญชีของคุณภายใน 3 วันทำการ  วิธีการเข้าร่วม  ลงทะเบียนได้ง่ายๆ เพียงทำตามขั้นตอนต่อไปนี้  ไม่ว่าคุณพึ่งจะเข้าสู่วงการการเทรดหรือเป็นเทรดเดอร์ที่เปี่ยมประสบการณ์ การแข่งขันนี้จะเป็นพื้นที่ที่ให้คุณได้โชว์ทักษะและทดสอบกลยุทธ์ของคุณในโลกการเทรดจริง  ระยะเวลาการแข่งขัน  การแข่งขันจะดำเนินไปเป็นเวลา 12 เดือน และเริ่มต้นในวันที่ 2 มกราคม 2568 เวลา 8:00 น. UTC+2 และจะดำเนินไปจนถึงเดือนธันวาคม 2568 นี้นั่นหมายความว่าคุณจะมีโอกาส 12 ครั้งในการพิสูจน์ทักษะและโชว์ศักยภาพการเทรดของคุณ เพื่อที่จะคว้าตำแหน่งผู้ชนะประจำเดือน  คุณพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันสุดท้าทายเพื่อคว้าเงินรางวัลแล้วหรือยัง […]

article-thumbnail

2025-01-03 | ข่าวสาร Doo Prime

Doo Prime ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567: ผู้นำในการซื้อขายออนไลน์ 

Doo Prime บรรลุเป้าหมายสำคัญในรายงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ของ Finance Magnates ด้วยอันดับที่ 24 ในปริมาณการซื้อขายต่อเดือนจากโบรกเกอร์มากกว่า 50 ราย และอันดับที่ 3 ของบัญชีการซื้อขายที่ใช้งานอยู่ เรายังคงรักษาจุดยืนของเราในฐานะโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้สำหรับนักลงทุนทั่วโลก  ความมุ่งมั่นของเราต่อนวัตกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าได้ขับเคลื่อนความสำเร็จเหล่านี้ ด้วยปริมาณการซื้อขายต่อเดือนที่ 137 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และบัญชีที่ใช้งานอยู่ 165,000 บัญชี Doo Prime แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่องในตลาดการซื้อขายออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูง   ในขณะที่อุตสาหกรรมมีการพัฒนา Doo Prime ยังคงทุ่มเทในการเพิ่มศักยภาพให้กับเทรดเดอร์ด้วยแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัย การวิเคราะห์เชิงลึก และบริการที่ไม่มีใครเทียบได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์หรือเพิ่งเริ่มต้น เราพร้อมช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ  อนาคตที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น  เมื่อมองไปข้างหน้า การมุ่งเน้นอย่างต่อเนื่องของ Doo Prime ในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราสัญญาว่าจะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในไตรมาสต่อๆ ไป  เรามุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การซื้อขายที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นแก่ลูกค้าของเรา ความมุ่งมั่นนี้ทำให้ Doo Prime ไม่เพียงแต่เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำในปัจจุบัน แต่ยังเป็นพลังขับเคลื่อนอนาคตของความเป็นเลิศในการเทรดอีกด้วย  เราขอขอบคุณลูกค้าที่มีพระคุณของเราอย่างจริงใจสำหรับการสนับสนุนและความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง  คอยติดตามการอัปเดตเพิ่มเติม เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการทุกท่านอย่างเต็มความสามารถ 

article-thumbnail

2024-12-16 | ข่าวสาร Doo Prime

Doo Prime รายงานปริมาณการซื้อขายเดือนพฤศจิกายน 2567 

รายงานปริมาณการซื้อขายเดือนพฤศจิกายน 2567 ของ Doo Prime ที่แสดงให้เห็นถึงปริมาณการซื้อขาย และผลงานดำเนินงานที่แข็งแกร่งบนแพลตฟอร์มของเราในเดือนที่ผ่านมา